เป็นไปได้ยาก! มิจฉาชีพดูดเงิน โดยไม่ได้กดลิงก์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณี ผู้เสียหาย 2 สามี ภรรยาที่จ.เลย ออกมาร้องเรียนว่า ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดูดเงินไปกว่า 3แสน6หมื่นบาท โดยที่ไม่ได้กดลิงก์อะไรเลย ทำให้เกิดความแตกตื่นในสังคมว่า กรณีแบบนี้จะเป็นเทคนิคใหม่ของมิจฉาชีพหรือไม่

กรณีนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2566 นายสมาน ใจหาญ อายุ 40 ปี พร้อมด้วยน.ส.มัสยา สุวรรณสนธิ์ อายุ 36 ปี ภรรยา อาศัยอยู่จ.เลย ว่า ออกมาร้องเรียนกับตำรวจว่าถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นสรรพกร โทรฯมาถามว่า  "เบอร์นี้ผูกกับไลน์หรือเปล่า"  และหลังจากตอบมิจฉาชีพไปว่า  "ใช่" ปลายทางก็วางสายไป จากนั้นมีสายจากไลน์โทรมา แต่ผู้เสียหายไม่รับสาย เพราะรู้เป็นมิจฉาชีพเลยกดสายทิ้ง

เปิด 4 กลโกงโจรออนไลน์ “หลอกลงทุน-โอนเงิน” เตือนประชาชนระวัง

นักธุรกิจหนุ่ม ถูกมิจฉาชีพหลอกโหลดแอปฯ ก่อนล็อกมือถือ ดูดเงิน 4.5 ล้าน ใน 10 นาที

ปรากฏว่า จากนั้นเครื่องค้าง และมีข้อความเด้งขึ้นมาว่ามีการโอนเงินจากบัญชีกสิกรไทย เข้าไปบัญชีหนึ่งของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำนวน 360,000 บาท ผู้เสียหายจึงติดต่อไปที่ธนาคารเพื่อขออายัด แต่ได้รับคำตอบว่า “คุณลูกค้าใช้มือถือระบบแอนดรอยด์ใช่ไหม ตอนนี้โดนกันเยอะ ระบบยังไม่สามารถแก้ไขได้” จึงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน

ประเด็นที่เกิดขึ้นนี้ สร้างความตระหนก ตกใจให้กับสังคมมาก เพราะหากเป็นไปตามข้อมูลที่สามี ภรรยา อธิบายหมายความว่า เคสนี้ก่อนที่มิจฉาชีพจะใช้วิธีแฮกโทรศัพท์เพื่อโอนเงินออกไป โทรศัพท์ไม่เคยมีการกดลิงก์ หรือ ดาวน์โหลดแอปฯพลิเคชัน ที่เปิดทางให้มิจฉาชีพเข้ามาแฮกได้เลย

ล่าสุดทีมข่าวตรวจสอบไปยัง พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. พบว่า ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีเคสในลักษณะนี้เกิดขึ้น เคสนี้เป็นเคสแรกที่มิจฉาชีพโทรศัพท์เข้ามาแล้ว สามารถแฮกข้อมูลของผู้เสียหายได้ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วเป็นไปได้ยากมาก ที่ผู้เสียหายจะถูกมิจฉาชีพดูดเงิน โดยที่ไม่ได้กดลิ้งก์หรือ ดาวน์โหลดที่เป็นโปรแกรมควบคุมระยะไกล

เพราะปัจจัยที่จะทำให้มิจฉาชีพโอนเงินออกได้ จะต้องเริ่มจากโทรศัพท์ผู้เสียหายถูกควบคุมจากโปรแกรมควบคุมระยะไกล และจากนั้นมิจฉาชีพจะพยายามหารหัส หรือ PIN ของแอปฯธนาคาร ซึ่งอาจจะเปิดดูในแอปฯโน้ต ที่ผู้เสียหายพิมพ์เก็บไว้ในเครื่อง หรือ ผู้เสียหายอาจจะถูกหลอกด้วยวิธีการต่างๆให้โอนเงินจำนวนหลักสิบบาทก่อนในครั้งแรก ซึ่งในตอนนั้นเองจะทำให้เห็นมิจฉาชีพได้ทราบรหัสของแอปฯธนาคาร และทำการโอนเงินออกไปยังบัญชีม้าในที่สุด  

แต่หากกรณีเป็นวิธีการใหม่ในการหลอกลวงของมิจฉาชีพจริง ก็ต้องตรวจสอบต่อไปว่า เกิดจากสาเหตุใด พร้อมแนะวิธีการป้องกัน สามารถแยกโทรศัพท์อีกเครื่องหนึ่งไว้สำหรับการทำธุรกรรมโดยเฉพาะ และไม่พิมพ์รหัส เข้าถึงแอปฯต่างๆไว้ในมือถือ

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP สังคม
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ